วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

นวัตกรรม

นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม" แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการวิจัยและพัฒนาในที่นี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลง (change) ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นคือ 1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กรหรือแม้แต่ตัวเราเองนวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็น - ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) หรือ สินค้าทั่วไป (goods) เช่น รถยนต์รุ่นใหม่ , สตรอเบอรีไร้เมล็ด, High Definition TV (HDTV), Digital Video Disc (DVD), etc. - ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible product) หรือ การบริการ (services) เช่น package ทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, Telephone Banking, การใช้ internet, การให้บริการที่ปรึกษาเฉพาะด้าน, กฎหมายทาง IT, etc. 2. นวัตกรรมขบวนการ (Process Innovation) เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการผลิตสินค้าหรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม นวัตกรรมขบวนการแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ - นวัตกรรมขบวนการทางเทคโนโลยี (Technological process Innovation) เป็นสินค้าทุนที่ถูกใช้ในขบวนการผลิต ซึ่งหน่วยของ real capital หรือ material goods ซึ่งถูกปรับปรุงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้ (productivity growth) ซึ่งก่อนหน้านั้น มันเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็น product innovation เมื่อ มันถูกผลิตขึ้น และเป็น process innovation เมื่อมันถูกนำไปใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น - นวัตกรรมขบวนการทางองค์กรณ์ (Organisational process Innovation) เป็นขบวนการที่เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของการจัดการองค์กรณ์ให้สูงขึ้น โดยใช้การลองผิดลองถูก (Trial and Error) และ การเรียนรู้จากการลองทำด้วยตนเอง (learning-by-doing) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามรถในการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพียงอย่างเดียว เช่น Just In Time (JIT), Total Quality Management (TQM), Lean Production ตัวอย่างของนวัตกรรมชนิดนี้เช่น โรงพยาบาล Karolinska ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน สามารถลดเวลาในการรอตรวจรักษาของผู้ป่วยลงได้กว่า 75% โดยการจัดรูปแบบขององค์กรณ์ใหม่ซึ่งเน้นหนักในด้าน คุณภาพ ความรวดเร็ว และ ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามมีหลายท่านที่สับสนในความหมายของคำว่า Innovation (นวัตกรรม) และ Invention (ประดิษฐกรรม) ข้อแตกต่างของทั้งสองคือ นวัตกรรมนั้นเป็นมากกว่าการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งประดิษฐกรรมใหม่ขึ้นสักชิ้นหนึ่งและไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นจะนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ในทางปฎิบัติ นวัตกรรมเป็นขบวนการนำประดิษฐกรรมเหล่านั้นมาทำให้ใช้ประโยชน์ได้ในความเป็นจริงทั้งทางสังคมและการค้า INVENTION:- To Conceive the idea INNOVATION:- To Exploit new ideas for economic and social benefits ตัวอย่างของนวัตกร (Innovator) ที่มีชื่อเสียง เช่น โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เขาเป็นนวัตกรอเมริกันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ผลงานตลอดชีวิตของเขาได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์กว่า 1,000 รายการ ยกตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟ้า, ฟิล์ม 35 มม. หรือแม้แต่ เก้าอี้ไฟฟ้า เอดิสันเป็นมากกว่านักประดิษฐ์ (Inventor) เพราะเอดิสันสามารถนำความคิดใหม่ ๆ มาถ่ายทอดให้ใช้งานได้จริงทั้งทางเทคนิค และ การค้า ในปี 1920 อาณาจักรธุรกิจยองเอดิสันมีมูลค้าสูงถึง 21.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เอดิสันเข้าใจธรรมชาติของนวัตกรรมเป็นอย่างดีโดยเขาตระหนักว่าการที่จะทำให้เทคโนโลยีใหม่เใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขว้างจะต้องสัมพันธ์กับ ความต้องการของตลาดด้วย (Mobilisation of technology push & demand pull) โมริตะ อากิโอะ (Morita Akio) ชาวญี่ปุ่นได้รับการยกย่องให้เป็นนวัตกรแนวหน้าของเอเซีย เขามีพื้นฐานเป็นนักฟิสิกส์แต่หันมาเอาดีทางการตลาด เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและเป็นนักขายมือทอง เขาเริ่มธุรกิจกับเพื่อนชื่อ อิบุกิ มาซารุ (Ibuki Masaru) ในห้องเล็ก ๆ ของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในโตเกียวในปี 1946 โดยตั้งชื่อว่า Tokyo Telecommunications Engineering Corporation เขาเริ่มต้นจากการพยายามสร้างเครื่องบันทึกเสียงแบบแม่เหล็ก (magnetic tape recorder) เขาเริ่มต้นตัดกระดาษแผ่นบางยาวด้วยมือและนำไปทาแลคเกอร์ด้วยมือของพวกเขาเองเพราะแผ่นพลาสติกเป็นของหายากในญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่ลองผิดลองถูกอยู่นานเขาก็ได้ผลิตเทปแคสเซตขึ้นเป็นคนแรกในญี่ปุ่น อากิโอะเป็นผู้ให้กำเนิดวิทยุ Walkman เพราะเขาสังเกตว่า คนหนุ่มสาวต้องการเสียงดนตรีตลอดเวลา ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการวิทยุขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปไหนก็ได้ ในขณะที่อิบุกิ เป็นอัจฉะริยะทางด้านเทคนิคซึ่งต่อมาบริษัทของเขาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "Sony" บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

แนะนำตัวเอง

ชื่อนางสาวรัชนก นิ่มนวล
ป.บัณฑิตรุ่น 11